วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

Passacaglia and chaconne

Passacaglia และ Chaconne เป็น form ของดนตรีมาตรฐานใน ประเทศสเปน ฝรั่งเศส หรืออิตาลี ในช่วงศตวรรษที่ 17 โดยจะมีวิธีการเดินคอร์ด Ground Bass เป็น I-IV-V-(I) ทั้งในคีย์เมเจอร์หรือไมเนอร์Passacaglia นั้นในช่วงที่เริ่มมีการใช้ ถูกประพันธ์สำหรับ guitar, voice and continuo, keyboard และ วง chamber โดยมีรูปแบบเป็นเพลงเต้นรำในอัตราจังหวะสาม หรือมี Pulse เป็นสาม เช่น อัตราจังหวะ 3/4 มีแนวเบสยืนพื้นเป็นหลักและมีการแปรทำนองเหนือแนวเบสที่ยื้นพื้นไว้อย่างต่อเนื่อง ส่วน Chaconne คือเพลงเต้นรำหรือเพลงบรรเลงของฝรั่งเศสในยุคบาโรค มีแนวเบสยืนพื้นเป็นหลัก มีการแปรทำนองในแนวอื่น และมีอัตราจังหวะเป็นสามเหมือนกับ Passacaglia แต่ต่างกันตรงที่จังหวะค่อนข้างช้ากว่า ส่วนในฝรั่งเศสและเยอรมันความแตกต่างระหว่าง Passacaglia and chaconne นั้นยังไม่แน่ชัดและยังสับสนอยู่

Passacaglia และ Chaconne เป็น Continuous variation forms ที่แต่ละท่อนของการแปลจะพัฒนาด้วยการใส่ทำนองอิสระมากกว่าสองทำนองที่ไม่เหมือนกันในแต่ละท่อนคล้ายกับเป็นการ Improvisation ในขณะที่เดินแนว Ground Bass ที่เป็น Melody (passacaglia) หรือ harmonic progression (chaconne) ในการแปลแบบนี้นอกจากจะเป็นการแสดงความสามารถของผู้ประพันธ์ในการแต่งแนวแปรให้ดูน่าสนใจและไม่น่าเบื่อแล้ว ยังจะเป็นการแสดงถึงความสามารถของนักดนตรีในการเล่นในเทคนิคการเล่นต่างๆอีกด้วย

ตัวอย่างเช่น The chaconne in Bach's D minor Partita (เพลงบรรเลงเป็นชุดต่อเนื่อง) สำหรับ Solo violin และ Passacaglia and Fugue in C minor, BWV 582 สำหรับออร์แกน ของ Johann Sebastian Bach เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Reformation และ Martin Luther


มาร์ติน ลูเทอร์ (10 November 1483 – 18 February 1546) เกิดที่แซกซอน ประเทศเยอรมัน เป็นบุตรคนยากจน แต่มีโอกาสได้ร่ำเรียนได้รับการศึกษาสูงจนจบปริญญาเอก และได้ศึกษาเทวศาสตร์ และได้เป็นครูในมหาวิทยาลัย มีผู้รักใคร่ เชื่อถือ จำนวนมาก ต่อมาลูเทอร์ มีโอกาส เข้าสู่ชีวิตนักบวชและแสวงบุญที่กรุงโรม และตะลึง ที่เห็นว่า สังฆราชมีชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อ เลิศเลอ จนเกินเหตุ จึงเห็นว่าควรมีการเปลี่ยนแปลงทางศาสนา ต่อมาได้ตีความพระคัมภีร์ ไบเบิลและวิพากษ์วิจารณ์ปรัชญาศาสนาของยุคกลาง พระศาสนจักร ซึ่งในขณะนั้นมีการขายใบบุญกันมาก

การปฏิรูปศาสนา (The Reformation) ขบวนการที่เกิดในศตวรรษที่ 16 ค.ศ. 1517 เมื่อ มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) ตอกตะปูคำประท้วง 95 ข้อ (The 95 Theses) โดยใช้เครื่องพิมพ์เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ ประกาศไว้หน้าโบสถ์ในเมืองวิทเทนเบิร์ก (Witten burg) ลูเธอร์ได้รับการสนับสนุนจากอิเล็กเตอร์แห่งแซกโซนี อิเล็กเตอร์แห่งแซกโซนีให้ลูเธอร์เก็บตัวอยู่ในปราสาทวาร์ตบูร์ก (Wartburg Castle) เพื่อความปลอกภัยและที่นั่นเองลูเธอร์แปลคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาเยอรมันเป็นครั้งแรก จึงทำให้นิกายลูเธอร์ (นิกายแรกของโปรเตสแตนต์) จึงแผ่ขยายไปทั่วเยอรมนี เพราะบรรดาเจ้าครองแคว้นต่างต้องการพ้นจากอำนาจของจักรพรรดิจึงใช่ศาสนาเป็นเครื่องมือ ความคิดของมาร์ติน ลูเทอร์ จึงได้รับการสนับสนุนจากมหาชนเยอรมันเป็นจำนวนมาก แล้วแพร่หลาย ออกไปทั่วยุโรปการเคลื่อนไหวดังกล่าว ทำให้ พระสันตะปาปา และฝ่ายสังฆราช ไม่พอใจและประกาศบัพพาชนียกรรม (ขับไล่ - Excommunication) มาร์ติน ลูเทอร์ ในปี ค.ศ. 1521

ต่อมาทางฝ่ายสังฆราชบัญญัติกฎที่หาประโยชน์แต่กลุ่มของตนเอง เอาเปรียบหลอกเงินชาวบ้าน ลูเทอร์ จึงเรียกประชุมผู้รู้ทั้งหลาย มาหารือกันว่าจะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงอย่างไรดี เรื่องกระทบไปถึงวงการการเมือง เพราะพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 5 แห่งเยอรมนี เกรงว่าความแตกแยกทางศาสนา จะทำให้กลุ่มแตกแยก ทางการเมือง ที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว กระเทือนบัลลังก์ของพระองค์ จึงให้เปิดสภาไต่สวน เพื่อเอาผิด ลูเทอร์ ซึ่งปรากฏว่า สภาจับผิด อะไรไม่ได้ แต่ก็ลงเอยด้วยการประกาศให้ลูเทอร์ เป็นคนนอกศาสนาอยู่ดี สุดท้าย ลูเทอร์ แต่งหนังสือบรรยาย ความเห็น แสดงลัทธิใหม่ แปลคัมภีร์ไบเบิลออกมา เป็นถ้อยคำที่ชาวบ้านทั่วไป อ่านแล้วเข้าใจ จึงเป็นที่แพร่หลาย มาจนถึงปัจจุบัน นิกายโปรเตสแตนต์ จึงเกิดขึ้นมาจากความคิดเห็นที่แตกแยกกันในเรื่องความเชื่อและชีวิต คริสตชน โดยเรียกพวกที่ไม่ใช่คาทอลิก หรือออร์ทอดอกซ์ว่า "โปรเตสแตนต์" (Protestant) ซึ่งแปลว่า "ประท้วง", "ผู้คัดค้าน" และแยกตัวในปี ค.ศ. 1529 และใน ค.ศ. 1530 นิกายโปรเตสแตนต์ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ และมีการแยกออกเป็นนิกายย่อยตามผู้นำ ลักษณะดนตรีในนิกายนี้คือ Chorale ซึ่งมีรูปพรรณที่ง่ายกว่าเดิมเพื่อประชาชนจะได้ร้องได้และเข้าร่วมในพิธีกรรมได้ อีกทั้งยังทำให้คำสอนเข้าถึงคนธรรมดาสามัญได้ง่าย Chorale ที่ใช้มีอยู่สองชนิดคือ แต่งทำนองขึ้นมาใหม่ โดยส่วนใหญ่ Martin Luther จะเป็นผู้แต่งใหม่ แบบที่สองคือ Contrafacta เป็นการนำทำนอง Chant เดิมมาใช้หรือการนำทำนองที่ชาวบ้านคุ้นเคยอยู่แล้วมาใส่คำสวดภาษาเยอรมัน การปฏิรูปศาสนาสิ้นสุดลงด้วยสัญญาสันติภาพเวสด์ฟาเลีย ในปี ค.ศ. 1648

Alessandro Scarlatti


Alessandro Scarlatti เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ที่เมือง Palermo นครหลวงของ Sicily ในครอบครัวที่เป็นนักดนตรีโดยอาชีพ เมื่อเขาเดินทางไปยังกรุงโรมเมื่อ ค.ศ. 1672 และได้เข้าเรียนวิชาดนตรีกับ Giacomo Carissimi นักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงชาวอิตาเลียน และเป็นบุคคลสำคัญในยุคเริ่มต้นของเพลงประเภท Oratorio และ Cantata เรียนได้เพียง 2 ปี ครูของเขาท่านนี้ก็เสียชีวิต เขาจึงได้ไปเรียนต่อกับ Giovanni Legrenzi และ Alessandro Stradella นักแต่งเพลงชาวอิตาเลียน เขาเริ่มมีชื่อเสียงจากการแต่งอุปรากรออกแสดงเป็นครั้งแรกที่กรุงโรม เมื่อ ค.ศ. 1679 ชื่อเรื่องว่า L’errore Innocente หรือ Gli equivoci nel sembiante จากอุปรากรเรื่องนี้ทำให้เขาได้มีโอกาสทำงานเป็นผู้กำกับวงดนตรีประจำโรงละครส่วนพระองค์ ให้กับพระราชินีคริสตินาแห่งสวีเดน ซึ่งได้เสด็จไปทอดพระเนตรอุปรากรเรื่องนี้แล้วทรงโปรดในผลงานการประพันธ์เพลงของเขา ทำงานอยูที่นั่น 4 ปี ระหว่างนั้นเขาได้ประพันธ์อุปรากรเรื่อง L’honesta negli amori ในปี 1680 ต่อมาเมื่อเขาได้มีโอกาสไปแสดงเพลงของเขาที่เมือง Naples และได้ย้าไปทำงานที่นั่นถึง 18 ปี หลังจากนั้นเขาก็ได้ย้ายไปทำงานในที่ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงานประพันธ์อุปรากรและเพลงร้องต่างๆ รวมถึงการพัฒนา Form ABA เรียกว่า Da capo aria ซึ่งจะมีอิทธิกับบทเพลงประเภท Concerto, Sonata และ Symphony เขาก็ถึงแก่กรรมที่เมือง Naples ในวัน ที่22 ตุลาคม ค.ศ. 1725 โดยมีลูกชายที่เป็นนักประพันธ์ที่สำคัญชื่อ Domenico Scarlatti และ Pietro Filippo Scarlatti

ลูกศิษย์ของเขาที่มีชื่อเสียงเช่น Jonhann Adolph Hasse (1699-1783) นักแต่งเพลงประกอบละครที่มีชื่อเสียงชาวเยอรมัน, Nicola Logroscino (1698-1765) นักแต่งเพลงอุปรากรแบบ Comic Opera ที่มีชื่อเสียงชาวอิตาเลียน, Francesco Durante (1698-1755) เป็นต้น งานที่สำคัญของเขาเช่น La Rosaura, Il Pompeo, Pirro e Demetrio และ Griselda เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียน Neapolitan school of opera ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทั้งด้านการแต่งเพลง และอุปรากร

Gioseffo Zarlino




Gioseffo Zarlino เกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม คศ.1517 ในเมือง Chioggia ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี ใกล้เมือง Venice เริ่มแรกเขาได้เรียนศาสนา ดนตรี และวิชาการอื่นๆจากบุคคลที่เป็น Franciscan ซึ่งหมายถึงคนนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก โดยเรียนดนตรีกับ Francesco Maria Delfico ต่อมาเมื่ออายุ 24 ปี เขาได้ย้ายไปที่เมือง Venice และได้เรียนดนตรีกับ Adrian Willaert ที่ maestro di cappella of St. Mark's ณ ที่นั่นเองที่เขาได้พัฒนาเทคนิคต่างๆในการประพันธ์จนกระทั่งได้ตำแหน่งเป็น maestro di cappella of St.Marks ซึ่งมีลูกศิษย์ที่เป็นที่รู้จักคือ Claudio Merulo, Giovanni Croce, Girolamo Diruta, Vincenzo Galilei และ G.M. Artusi เขาทำหน้าที่ของนักประพันธ์และนักทฤษฎีจนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1590

ส่วนตัวของ Zarlino นั้น ไม่เพียงแต่จะเป็นนักประพันธ์ที่แต่งทั้งเพลง Masses, motet, madrigals และ secular music เท่านั้น แต่ยังเป็นนักทฤษฎีดนตรีที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการเขียน counterpoint จนได้ผลิตผลงานทางด้านการเขียนขึ้นคือ ตำราทฤษฎีดนตรี ทั้งหมด 3 เล่มคือ Le istitutioni harmoniche ออกตีพิมพ์ในปี 1558, Dimostrationi harmoniche ออกตีพิมพ์ในปี 1571 และ Sopplimenti musicali ออกตีพิมพ์ในปี 1588 ซึ่งได้รวบรวมเทคนิคการประพันธ์ที่จะมีอิทธิพลต่อมาในยุคบาโรค อีกทั้งเขาได้หาวิธีที่ทำให้ คู่ 3 และ คู่ 6 ที่เคยเป็นคู่ Dissonance มาเป็นคู่ที่ Consonance และนำไปใช้ประโยชน์ในการเขียนเสียงประสาน นอกจากนั้นตำราของท่านยังได้รับความนิยมจนถึงในปัจจุบัน

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

Guido d'Arezzo นักบวชผู้พลิกตำนานทฤษฎีดนตรี




Guido d'Arezzo(991/992 – after 1033) นักบวชชาวอิตาเลียนแห่งเมืองArezzo ในช่วงยุคกลาง ในช่วงแรกเมื่อท่านเป็นนักบวชอยู่ที่สำนักสงฆ์ที่ปอมโปซา (Pomposa) ทางตอนเหนือของอิตาลี ท่านได้สังเกตถึงความยากที่นักร้องจะต้องจดจำเพลงสวดให้ได้ภายในเวลาอันสั้น จึงคิดค้นวิธีการจำโดยการใช้มือเรียกว่า “Guidonian Hand ซึ่งเป็นความคิดใหม่ที่ทำให้สามารถเรียนรู้ดนตรีได้ โดยการตั้งชื่อโน้ตให้สัมพันธ์กับส่วนต่างๆ บนมือของมนุษย์ รวมไปถึงการใช้Hexachord และเป็นครั้งแรกที่ทำให้รู้จักการใช้ Solfege แต่วิธีการนี้ได้ถูกต่อต้านจึงทำให้ท่านจำเป็นต้องย้ายไปอยู่ที่เมือง Arezzo

ที่เมือง Arezzo นั้น เขาได้พัฒนาวิธีการสอนใหม่ๆ เช่น คิดค้นระบบบันทึกโน้ตดนตรีแบบสัญลักษณ์บรรทัดเส้น (Staff notation) สมัยใหม่ ซึ่งใช้แทนระบบการบันทึกโน้ตแบบตัวอักษรกรีก (Neumatic notation) และ Solfeggio ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของบันไดเสียง โด-เร-มี ซึ่งแต่ละคำดึงมาจากพยางค์แรกของวลีเพลงทั้ง 6 ในบทกวีHymn, Ut queant laxis

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Who care if you listen? ฉบับแปลด้วยตนเอง เอาไว้อ่านเล่นๆ

Who care if you listen? By Evan Ziporyn

แปลตอนสอบอ.หง่าวค่ะ แปลผิดบอกกันด้วยนะคะ เพราะยังมีความรู้เรื่องดนตรีไม่มาก และแปลแบบข้ามๆอ่ะค่ะ

Evan Ziporyn (1959- ) ได้บอกว่าในปี1997 มีนักแต่งเพลงชื่อ Chris Maher ซึ่งเป็นพวก Marxist music เขามีความคิดว่าไม่มีองค์ประกอบของดนตรีใดๆที่สร้างเสียงด้วยตัวมันเองได้ อีกทั้ง Maher ยังได้ยืนยันว่าทางเดียวที่จะทำให้ดนตรีได้พัฒนาอย่างเป็นอิสระก็คือจะต้องทำลายแนวคิดของดนตรีที่เป็นแบบเดิมๆซะ ขอบเขตของดนตรีน่าจะอธิบายได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ในผลงานดนตรีหนึ่งชิ้นนั้นจะประสบความสำเร็จและมีคุณค่าได้นั้น ก็แล้วแต่ว่าผู้ฟังจะรู้สึกอย่างไรตอนที่ได้ฟังผลงานนั้นๆ แต่ที่สำคัญก็คือ แนวคิดที่ผู้แต่งได้จินตนาการไว้แล้วสร้างออกมา

เนื่องจากสมัยที่เรายังเด็กๆเราจะได้ศึกษาประวัติศาสตร์รวมถึงเทคนิคจากผู้ที่มีชื่อเสียงต่างในอดีตเช่น melodies, chord progressions, formal principles เป็นต้น แล้วนำเทคนิคดังกล่าวมาประพันธ์เพลงของตนเอง ซึ่ง Ziporyn เขาคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะน่าอายและน่ากลัวเป็นอย่างยิ่ง เพราะเราจะไม่สามารถพัฒนาดนตรีให้ก้าวหน้าและสร้างเสียงที่ใหม่ๆ รวมถึงการปรับปรุงแนวคิดโครงสร้างแบบใหม่ๆได้ ซึ่งการที่จะสร้างสิ่งใหม่นั้นมันยากมาก ต้องอาศัยทั้งเวลา ความสามารถพิเศษของผู้แต่งเอง ความมุ่งมั่น ความขยัน ซึ่งถ้าผู้แต่งทำได้ การที่ได้เสียสละทำสิ่งเหล่านั้นก็จะเกิดผลให้ได้รับการยกย่อง ยอมรับ ความรุ่งเรืองและความสำเร็จก็จะตามมา ที่ตลกมากๆคือเขาบอกว่า เสียงใหม่ๆที่เรากำลังตามหากันอยู่นั้นมันจะหายากซึ่งในบางทีการให้เวลาและความขยันไม่พอหรอก จะต้องอาศัยโชคช่วยด้วย รวมถึงชื่อเสียงของผู้แต่ง

ในปัจจุบันดนตรีทุกๆแบบสามารถเข้าถึงผู้ฟังทุกๆคนได้ในทุกเวลา ในตะวันตกเขาได้ยกเพลงที่ชื่อว่า Telemusik ของ Stockhausen ซึ่งเป็นเพลงที่ใช้ meterial จากเพลงพื้นบ้าน 12 แห่ง ซึ่งมีนักประพันธ์ได้ยืนยันว่าเพลงนี้ไม่ใช่ของใครแต่ เพลงของคนทั้งโลกทุกประเทศต่างหาก และเปรียบว่าเหมือนกับพวกนักล่าอณานิคมที่ล่าเขตแดนมาเป็นของตัวเอง ซึ่งในตะวันได้เรียกการที่นำเอาทุกconcept มารวมกันว่า “Otherness” จากนั้นก็ยังมีดนตรีแบบนี้อยู่ใน top-40 radio หรือ เพลง swing รวมถึงแนวคิดที่ตรงข้ามที่เรียกว่า “out there” เช่น การที่ Boulez ได้ประกาศว่านักแต่งเพลงที่ไม่ใช่ Serialist เป็นนักแต่งเพลงที่ไม่มีประโยชน์

แต่ปัจจุบันการแต่งแบบ Otherness ได้ถูกใช้น้อยลงเพราะได้กลายมาเป็นเพลงตลาดซึ่งบริษัทต่างๆเห็นว่าไพเราะดี ก่อนหน้านี้ขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นใครและคุณเข้าใจตรงไหนเพราะOtherนั้นเป็นได้ทุกสิ่งที่คุณคิด แต่ปัจจุบันทุกๆอย่างได้รวมมาเป็นแบบที่เรียกว่า New Age” ซึ่งได้ใช้ระบบ digital อย่าง syn. เข้ามาเกี่ยวข้องกับการสร้างเสียงและบันทึกเสียง แต่ก็ได้มีนักวิจารณ์ได้กล่าวว่าเขาสนใจที่ “authentic performance” (performance ที่แท้จริง) มากกว่าและคิดว่าการใช้ระบบdigitalนั้นเป็นสิ่งสุดท้ายที่คิดจะทำ ผู้คนส่วนใหญ่มักจะคิดถึงเรื่องดนตรีมาจากไหน เขียนเมื่อไหร่ ใครเขียนหรือเล่นยังไง ซึ่งมักเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยดี Otherness ในตอนนี้นั้นไม่มีอะไรมากกว่าเรื่องของคุณภาพเสียงที่ออกมาและการเอาเสียงนั้นมาใช้

เมื่อนำกลับมาคิดแล้วกฏหมายในเรื่องของลิขสิทธ์ก็ไม่ได้มีผลต่อการสร้างงานเท่าไหร่เพราะองค์ประกอบของดนตรีของนักประพันธ์ท่านต่างๆในอดีตก็ยังถูกนำเอามาใช้ทั้งจังหวะ เสียง และPitch phaseซึ่งจริงๆแล้วมันเป็นสิ่งที่เลวร้ายมากๆ หรือบางทีก็อาจจะเป็นเพราะการนำมาทำเพราะความสนุกหรือไม่ก็เพราะผลประโยชน์ส่วนตัวที่จะได้รับ และอิทธิพลต่างๆเช่นการเมือง หรือว่าเฮ้ยจังหวะมันดีนะเฮ้ยคำนี้มันโดนใจอะไรแบบนี้ สิ่งดึงดูดเหล่านั้นเหมือนว่าจะเป็นทัศนคติหรือจินตนาการ แต่ความรู้สึกนั้นมันเกิดขึ้นได้อย่างไร มันมีพลังมากหรอ? แม้ว่าแรงดึงดูดเหล่านั้นทำให้เราต้องการเลียนแบบมันแต่ยังไงก็ตามเราก็ควรหยุดคิดหรือกระทำสิ่งเหล่านั้น และหาหนทางหรือข้อห้ามที่จำหยุดมัน

ในสถานการณ์นี้เมื่อสิบห้าปีที่ผ่านมาเราขาดแคลนnon western music ซึ่งดูเหมือนว่ามันไม่มี เหตุผล เพราะการที่ทางตะวันตกมีประสิทธิภาพที่สร้างงานและแกล้งว่าสอนดนตรีได้ถ้าพูดรวมๆก็คือความสำเร็จทางด้านดนตรีจะมีแค่ในEUเท่านั้น มันดูมีเหตุผลสำคัญที่จะให้เหตุผลสำหรับการเปิดความคิด ยอมรับวัฒนธรรมที่สำคัญอื่นๆ และการพูดเกี่ยวกับเรื่องการผสมกันของดนตรี

โชคร้ายจริงๆที่ในปัจจุบันได้มีนักวิจารณ์เขียนแบบเขี่ยๆที่จะอธิบายการจูงใจที่สื่อออกมาของจังหวะกลองในเพลงhiphop Greg Sandow นักแต่งเพลงและนักวิจารณ์ ครั้งหนึ่งเขาได้กระตือรือร้น ที่จะปกป้องนักต่อสู้อุดมการณ์สองคนที่มีความคิดที่ไร้สาระมากของประวัติศาสตร์ที่เขียนเรื่อง New music ซึ่งคนเหล่านั้นไม่ได้ความรู้เกี่ยวกับดนตรีอย่างแท้จริงเรยเลยแล้วยังจะมาเขียนเรื่องดนตรี

มันเป็นความจริงที่ปัจจุบันยังมีคนทั่วโลกที่ยังใช้ Traditional music ไม่ใช่แต่เพลงpop แต่เพลงclassic และ computer music ก็ใช้ Evanยืนยันว่ายังมีประเภทของดนตรีมากมายที่หายไปและรอการกำหนดความหมาย ฉันกำลังพูดถึงมาตรฐานเฉลี่ยของผู้ฟังในปัจจุบันอาจจะรวมถึง Monroe Brother,…etc. การฟังของพวกเรายังไม่เป็นสากลยังไม่มีจุดหมาย และยังมองไม่เห็นความงามของดนตรีที่แท้จริง

แต่มันก็ยากสำหรับพวกเรามากกับการที่จะรู้ถึงการสร้างงานรวมถึงหลักการปฏิบัติ ถ้าเราเป็นนักแต่งเพลงคงจะรู้ว่าเขียนเพลงเพื่ออะไร หรือถ้าเราเป็นอาจารย์ก็อาจจะรู้เทคนิคละความงามทางดนตรีได้ดี หรือไม่ก็พวกเราอาจจะไม่มีความตั้งใจและเงินมากพอที่จะผลักดันเรา สำหรับMoore เขาพูดว่าคุณสามารถทำที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ที่คุณต้องการเพราะไม่มีใครที่careในทุกๆเรื่อง งั้นเราจะทำยังไงต่อหล่ะ ?

คำตอบก็คือฉันเชื่อว่าเราสามารถฝึกโดยวิธีการเปรียบเทียบกันระหว่างดนตรีและภาษาได้ ดนตรีก็เหมือนกับภาษาที่คนเราใช้สื่อสารกับคนอื่นๆที่เราสามารถพูดหรื่อแสดงท่าทางเพื่อสื่อให้คนอื่นเข้าใจความรู้สึกของเรา โดยเฉพาะถ้าเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมเช่นเราสามารถรู้ข้อแตกต่างระหว่าง Balinese music กับทุกๆอย่างในโลกได้ ดนตรีก็คือหลักการที่สามารถแยกแยะวัฒนธรรมของแต่ละที่ได้ แต่โชคร้ายที่ยังมีดนตรีที่ไม่มีใครในโลกเข้าใจมันได้ไม่ว่าเขาจะตั้งใจฟังเท่าไหร่ก็ตาม


อีกทางแก้นึงก็คือการมองดนตรีให้เป็น ระบบของเสียง การจัดเรียงของเสียงสามารถเป็นดนตรีได้โดยใครก็ได้ ด้วยการเรียงลำดับหน่วยพื้นฐานของเสียงที่สามารถเข้าใจได้ง่าย musical phoneme สามารถจำกัดความได้จากการมองเห็นความแตกต่างของหน่วยของเสียง หรือไม่ก็มีความหมายเหมือนพยางค์ในภาษาพูด เขียนและท่าทาง ระบบของเสียงอาจจะมีความหมายดีกว่าเรียกว่าเสียงเฉยๆ นั้นก็หมายความว่าเมื่อเราฟัง ทุกสิ่งที่เราได้ยินและไม่ได้ยิน การรวมกันของเสียงและความเงียบ โอ้แม่เจ้า!!!!! เสียงต่างๆเหล่านี้ทำอะไรกับดนตรีเนี่ย(what does sound have to do with music)

ถ้าดนตรีคือเสียงและเสียงเท่านั้น ดังนั้นมันก็ไม่ได้เข้าใจยากกว่าอย่างอื่นหน่ะสิ ถ้าในทางกลับกัน ดนตรีประกอบด้วยภาษาที่แยกกันเป็นส่วนต่างๆมากมายมหาศาล และคนท้องถิ่นสามารถเผชิญหน้าท่ามกลาง “The other” ได้หลายทางคือ 1.อย่าใสใจและยึดไว้ซึ่งภาษาแม่ของตนเอง 2.ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เรามีและรวบรวมไว้ด้วยตนเอง 3.ศึกษาภาษาของที่อื่นๆให้เชี่ยวเหมือนภาษาของตนเอง 4.พิจารณาสิ่งที่มีอยู่และนำมาใช้ผสมกันอย่างมีสติ ซึ่งส่วนนี้ยากที่สุดเพราะส่วนนี้แหละที่จะแสดงตัวตนของเรา อีกทั้งยังต้องคิดถึงผู้ฟังที่ต่างกันด้วย

การสร้างสรรค์ภาษาเช่นการผสมกันที่กล่าวมาสามารถอธิบายได้ แต่มันก็เป็นเพียงความเป็นไปได้ของ “Phonemic transference” ที่ทำให้ทุกๆความสัมพันธ์แตกต่างกันและนำมาเปรียบกับดนตรี แต่โปรดเข้าใจฉัน มันไม่สามารถอธิบายได้ถึงทั้งหมดของดนตรีที่จัดระบบเสียงและการสร้างความสัมพันธ์ แต่ตรงกันข้ามประสบการณ์ของการเข้าใจผิดที่เป็นประโยชน์ และความสำคัญของการที่ได้ยินเสียงที่ไม่ใช่ของแท้(น่าจะเป็นเสียงdigitalที่ใช้syn.อ่า) สิ่งเหล่านั้นเองเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เราพิจารณาความหมายของดนตรี เท่าที่เราได้ยินเสียงดนตรีจากวัฒนธรรมต่างๆ “the wrong way” ดังนั้นทำให้เราเข้าใจอย่างไร้จุดหมายว่า การจัดการดนตรีเปรียบได้กับวัฒนธรรมของภาษาเท่านั้น ถึงแม้ว่าการที่ไม่เปลี่ยนแปลงของภาษาและดนตรีที่ต่างกันนี้ดูเหมือนเราจะรู้ว่า เราสามารถสร้าง sense ของดนตรีได้โดยที่มีต้องคิดมากเรื่องระบบและเสียง ไม่จำเป็นต้องให้ความหมายกับสิ่งที่สร้างขึ้นและปัญหาของเราก็ไม่ได้ทำอะไรกับดนตรี เพียงแต่เราจำเป็นที่จะต้องพูดถึงมันเพื่ออธิบายเรื่องดนตรี

จินตนาการตอนเด็กที่หายไป การรวมกันของงานที่ source อยู่ในที่ลึกลับ และการยึดถึงคุณธรรม สิ่งที่ถูกละเลยเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญในปรัญชาของเพลโต ที่เกี่ยวกับจิตใจและความรักที่บริสุทธิ์ เราควรจะขุดลึกเข้าไปในจิตใจของเราเอง เจาะลงไปถึงภายใต้ประสบการณ์และความคิดเล็กๆน้อยๆของเรา ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เราได้ดนตรีที่ดี ต่างกับภาษาที่สร้างขึ้นโดยที่ไม่ได้คำนึงเกี่ยวกับเรื่องจิตใจและความรู้สึกมากนัก

หยุดการตามหาความหมายเสียที ฉันไม่ได้แนะนำให้หยุดพูดถึงดนตรีนะ แต่ให้หยุดตามหาดนตรีซะที กำจัดแนวคิดที่เกี่ยวกับคุณค่าของดนตรี พูดกันแต่เรื่องไร้สาระไม่หยุดหย่อน ให้ดนตรีได้พูดด้วยตัวของมันเอง ถ้ามองในแง่นี้สิ่งที่ Maher กำลังตามหาเพื่อจะจัดสรรค์อยู่นั้น ไม่ใช่คุณสมบัติของดนตรี แต่เป็นความสามารถในการเชื่อมต่อของดนตรี ครั้งหนึ่งเราหยุดความเชื่อที่ว่า คำจำกัดความและการวิเคราะห์ได้ถูกยกระดับ การแสดงดนตรีจากสิ่งที่มีอยู่ภายใน และบทความเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของดนตรี จะกลายมาเป็นสิ่งที่ไม่ได้ตรงประเด็นและอ่อนแอ

เราควรจะต้องฟังเสียงข้างในใจของเราเท่านั้นไม่ว่าเสียงนั้นจะมาจากไหน เพื่อยืนยันว่า แนวคิดของเพลโตที่ไม่เป็นต้องมีรู้ชื่อ, ภาษา และประเภท เราควรจะหลุดพ้นจากความคิดที่ว่าดนตรีคืออะไรและไม่ใช่อะไร เราควรจะหยุดความพยายามที่จะอธิบายเรื่องดนตรี หยุดสนใจ หรือไม่ก็ มันเป็น sign system, การ random ของเสียง หรือสัญลักษณ์ต่างๆที่เป็นมากกว่าดนตรี

เราจะต้อง......และเราก็จะต้อง......โอ้ว หุบปากซะ แล้วฟังอย่างเดียว รู้ไหม?

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

อ้างอิง

เดี๋ยวจะหาชื่อหนังสือมาค่ะ ซักพักค่ะ(ถามคุณนันท์ก่อน)