วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

Passacaglia and chaconne

Passacaglia และ Chaconne เป็น form ของดนตรีมาตรฐานใน ประเทศสเปน ฝรั่งเศส หรืออิตาลี ในช่วงศตวรรษที่ 17 โดยจะมีวิธีการเดินคอร์ด Ground Bass เป็น I-IV-V-(I) ทั้งในคีย์เมเจอร์หรือไมเนอร์Passacaglia นั้นในช่วงที่เริ่มมีการใช้ ถูกประพันธ์สำหรับ guitar, voice and continuo, keyboard และ วง chamber โดยมีรูปแบบเป็นเพลงเต้นรำในอัตราจังหวะสาม หรือมี Pulse เป็นสาม เช่น อัตราจังหวะ 3/4 มีแนวเบสยืนพื้นเป็นหลักและมีการแปรทำนองเหนือแนวเบสที่ยื้นพื้นไว้อย่างต่อเนื่อง ส่วน Chaconne คือเพลงเต้นรำหรือเพลงบรรเลงของฝรั่งเศสในยุคบาโรค มีแนวเบสยืนพื้นเป็นหลัก มีการแปรทำนองในแนวอื่น และมีอัตราจังหวะเป็นสามเหมือนกับ Passacaglia แต่ต่างกันตรงที่จังหวะค่อนข้างช้ากว่า ส่วนในฝรั่งเศสและเยอรมันความแตกต่างระหว่าง Passacaglia and chaconne นั้นยังไม่แน่ชัดและยังสับสนอยู่

Passacaglia และ Chaconne เป็น Continuous variation forms ที่แต่ละท่อนของการแปลจะพัฒนาด้วยการใส่ทำนองอิสระมากกว่าสองทำนองที่ไม่เหมือนกันในแต่ละท่อนคล้ายกับเป็นการ Improvisation ในขณะที่เดินแนว Ground Bass ที่เป็น Melody (passacaglia) หรือ harmonic progression (chaconne) ในการแปลแบบนี้นอกจากจะเป็นการแสดงความสามารถของผู้ประพันธ์ในการแต่งแนวแปรให้ดูน่าสนใจและไม่น่าเบื่อแล้ว ยังจะเป็นการแสดงถึงความสามารถของนักดนตรีในการเล่นในเทคนิคการเล่นต่างๆอีกด้วย

ตัวอย่างเช่น The chaconne in Bach's D minor Partita (เพลงบรรเลงเป็นชุดต่อเนื่อง) สำหรับ Solo violin และ Passacaglia and Fugue in C minor, BWV 582 สำหรับออร์แกน ของ Johann Sebastian Bach เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Reformation และ Martin Luther


มาร์ติน ลูเทอร์ (10 November 1483 – 18 February 1546) เกิดที่แซกซอน ประเทศเยอรมัน เป็นบุตรคนยากจน แต่มีโอกาสได้ร่ำเรียนได้รับการศึกษาสูงจนจบปริญญาเอก และได้ศึกษาเทวศาสตร์ และได้เป็นครูในมหาวิทยาลัย มีผู้รักใคร่ เชื่อถือ จำนวนมาก ต่อมาลูเทอร์ มีโอกาส เข้าสู่ชีวิตนักบวชและแสวงบุญที่กรุงโรม และตะลึง ที่เห็นว่า สังฆราชมีชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อ เลิศเลอ จนเกินเหตุ จึงเห็นว่าควรมีการเปลี่ยนแปลงทางศาสนา ต่อมาได้ตีความพระคัมภีร์ ไบเบิลและวิพากษ์วิจารณ์ปรัชญาศาสนาของยุคกลาง พระศาสนจักร ซึ่งในขณะนั้นมีการขายใบบุญกันมาก

การปฏิรูปศาสนา (The Reformation) ขบวนการที่เกิดในศตวรรษที่ 16 ค.ศ. 1517 เมื่อ มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) ตอกตะปูคำประท้วง 95 ข้อ (The 95 Theses) โดยใช้เครื่องพิมพ์เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ ประกาศไว้หน้าโบสถ์ในเมืองวิทเทนเบิร์ก (Witten burg) ลูเธอร์ได้รับการสนับสนุนจากอิเล็กเตอร์แห่งแซกโซนี อิเล็กเตอร์แห่งแซกโซนีให้ลูเธอร์เก็บตัวอยู่ในปราสาทวาร์ตบูร์ก (Wartburg Castle) เพื่อความปลอกภัยและที่นั่นเองลูเธอร์แปลคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาเยอรมันเป็นครั้งแรก จึงทำให้นิกายลูเธอร์ (นิกายแรกของโปรเตสแตนต์) จึงแผ่ขยายไปทั่วเยอรมนี เพราะบรรดาเจ้าครองแคว้นต่างต้องการพ้นจากอำนาจของจักรพรรดิจึงใช่ศาสนาเป็นเครื่องมือ ความคิดของมาร์ติน ลูเทอร์ จึงได้รับการสนับสนุนจากมหาชนเยอรมันเป็นจำนวนมาก แล้วแพร่หลาย ออกไปทั่วยุโรปการเคลื่อนไหวดังกล่าว ทำให้ พระสันตะปาปา และฝ่ายสังฆราช ไม่พอใจและประกาศบัพพาชนียกรรม (ขับไล่ - Excommunication) มาร์ติน ลูเทอร์ ในปี ค.ศ. 1521

ต่อมาทางฝ่ายสังฆราชบัญญัติกฎที่หาประโยชน์แต่กลุ่มของตนเอง เอาเปรียบหลอกเงินชาวบ้าน ลูเทอร์ จึงเรียกประชุมผู้รู้ทั้งหลาย มาหารือกันว่าจะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงอย่างไรดี เรื่องกระทบไปถึงวงการการเมือง เพราะพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 5 แห่งเยอรมนี เกรงว่าความแตกแยกทางศาสนา จะทำให้กลุ่มแตกแยก ทางการเมือง ที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว กระเทือนบัลลังก์ของพระองค์ จึงให้เปิดสภาไต่สวน เพื่อเอาผิด ลูเทอร์ ซึ่งปรากฏว่า สภาจับผิด อะไรไม่ได้ แต่ก็ลงเอยด้วยการประกาศให้ลูเทอร์ เป็นคนนอกศาสนาอยู่ดี สุดท้าย ลูเทอร์ แต่งหนังสือบรรยาย ความเห็น แสดงลัทธิใหม่ แปลคัมภีร์ไบเบิลออกมา เป็นถ้อยคำที่ชาวบ้านทั่วไป อ่านแล้วเข้าใจ จึงเป็นที่แพร่หลาย มาจนถึงปัจจุบัน นิกายโปรเตสแตนต์ จึงเกิดขึ้นมาจากความคิดเห็นที่แตกแยกกันในเรื่องความเชื่อและชีวิต คริสตชน โดยเรียกพวกที่ไม่ใช่คาทอลิก หรือออร์ทอดอกซ์ว่า "โปรเตสแตนต์" (Protestant) ซึ่งแปลว่า "ประท้วง", "ผู้คัดค้าน" และแยกตัวในปี ค.ศ. 1529 และใน ค.ศ. 1530 นิกายโปรเตสแตนต์ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ และมีการแยกออกเป็นนิกายย่อยตามผู้นำ ลักษณะดนตรีในนิกายนี้คือ Chorale ซึ่งมีรูปพรรณที่ง่ายกว่าเดิมเพื่อประชาชนจะได้ร้องได้และเข้าร่วมในพิธีกรรมได้ อีกทั้งยังทำให้คำสอนเข้าถึงคนธรรมดาสามัญได้ง่าย Chorale ที่ใช้มีอยู่สองชนิดคือ แต่งทำนองขึ้นมาใหม่ โดยส่วนใหญ่ Martin Luther จะเป็นผู้แต่งใหม่ แบบที่สองคือ Contrafacta เป็นการนำทำนอง Chant เดิมมาใช้หรือการนำทำนองที่ชาวบ้านคุ้นเคยอยู่แล้วมาใส่คำสวดภาษาเยอรมัน การปฏิรูปศาสนาสิ้นสุดลงด้วยสัญญาสันติภาพเวสด์ฟาเลีย ในปี ค.ศ. 1648

Alessandro Scarlatti


Alessandro Scarlatti เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ที่เมือง Palermo นครหลวงของ Sicily ในครอบครัวที่เป็นนักดนตรีโดยอาชีพ เมื่อเขาเดินทางไปยังกรุงโรมเมื่อ ค.ศ. 1672 และได้เข้าเรียนวิชาดนตรีกับ Giacomo Carissimi นักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงชาวอิตาเลียน และเป็นบุคคลสำคัญในยุคเริ่มต้นของเพลงประเภท Oratorio และ Cantata เรียนได้เพียง 2 ปี ครูของเขาท่านนี้ก็เสียชีวิต เขาจึงได้ไปเรียนต่อกับ Giovanni Legrenzi และ Alessandro Stradella นักแต่งเพลงชาวอิตาเลียน เขาเริ่มมีชื่อเสียงจากการแต่งอุปรากรออกแสดงเป็นครั้งแรกที่กรุงโรม เมื่อ ค.ศ. 1679 ชื่อเรื่องว่า L’errore Innocente หรือ Gli equivoci nel sembiante จากอุปรากรเรื่องนี้ทำให้เขาได้มีโอกาสทำงานเป็นผู้กำกับวงดนตรีประจำโรงละครส่วนพระองค์ ให้กับพระราชินีคริสตินาแห่งสวีเดน ซึ่งได้เสด็จไปทอดพระเนตรอุปรากรเรื่องนี้แล้วทรงโปรดในผลงานการประพันธ์เพลงของเขา ทำงานอยูที่นั่น 4 ปี ระหว่างนั้นเขาได้ประพันธ์อุปรากรเรื่อง L’honesta negli amori ในปี 1680 ต่อมาเมื่อเขาได้มีโอกาสไปแสดงเพลงของเขาที่เมือง Naples และได้ย้าไปทำงานที่นั่นถึง 18 ปี หลังจากนั้นเขาก็ได้ย้ายไปทำงานในที่ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงานประพันธ์อุปรากรและเพลงร้องต่างๆ รวมถึงการพัฒนา Form ABA เรียกว่า Da capo aria ซึ่งจะมีอิทธิกับบทเพลงประเภท Concerto, Sonata และ Symphony เขาก็ถึงแก่กรรมที่เมือง Naples ในวัน ที่22 ตุลาคม ค.ศ. 1725 โดยมีลูกชายที่เป็นนักประพันธ์ที่สำคัญชื่อ Domenico Scarlatti และ Pietro Filippo Scarlatti

ลูกศิษย์ของเขาที่มีชื่อเสียงเช่น Jonhann Adolph Hasse (1699-1783) นักแต่งเพลงประกอบละครที่มีชื่อเสียงชาวเยอรมัน, Nicola Logroscino (1698-1765) นักแต่งเพลงอุปรากรแบบ Comic Opera ที่มีชื่อเสียงชาวอิตาเลียน, Francesco Durante (1698-1755) เป็นต้น งานที่สำคัญของเขาเช่น La Rosaura, Il Pompeo, Pirro e Demetrio และ Griselda เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียน Neapolitan school of opera ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทั้งด้านการแต่งเพลง และอุปรากร

Gioseffo Zarlino




Gioseffo Zarlino เกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม คศ.1517 ในเมือง Chioggia ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี ใกล้เมือง Venice เริ่มแรกเขาได้เรียนศาสนา ดนตรี และวิชาการอื่นๆจากบุคคลที่เป็น Franciscan ซึ่งหมายถึงคนนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก โดยเรียนดนตรีกับ Francesco Maria Delfico ต่อมาเมื่ออายุ 24 ปี เขาได้ย้ายไปที่เมือง Venice และได้เรียนดนตรีกับ Adrian Willaert ที่ maestro di cappella of St. Mark's ณ ที่นั่นเองที่เขาได้พัฒนาเทคนิคต่างๆในการประพันธ์จนกระทั่งได้ตำแหน่งเป็น maestro di cappella of St.Marks ซึ่งมีลูกศิษย์ที่เป็นที่รู้จักคือ Claudio Merulo, Giovanni Croce, Girolamo Diruta, Vincenzo Galilei และ G.M. Artusi เขาทำหน้าที่ของนักประพันธ์และนักทฤษฎีจนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1590

ส่วนตัวของ Zarlino นั้น ไม่เพียงแต่จะเป็นนักประพันธ์ที่แต่งทั้งเพลง Masses, motet, madrigals และ secular music เท่านั้น แต่ยังเป็นนักทฤษฎีดนตรีที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการเขียน counterpoint จนได้ผลิตผลงานทางด้านการเขียนขึ้นคือ ตำราทฤษฎีดนตรี ทั้งหมด 3 เล่มคือ Le istitutioni harmoniche ออกตีพิมพ์ในปี 1558, Dimostrationi harmoniche ออกตีพิมพ์ในปี 1571 และ Sopplimenti musicali ออกตีพิมพ์ในปี 1588 ซึ่งได้รวบรวมเทคนิคการประพันธ์ที่จะมีอิทธิพลต่อมาในยุคบาโรค อีกทั้งเขาได้หาวิธีที่ทำให้ คู่ 3 และ คู่ 6 ที่เคยเป็นคู่ Dissonance มาเป็นคู่ที่ Consonance และนำไปใช้ประโยชน์ในการเขียนเสียงประสาน นอกจากนั้นตำราของท่านยังได้รับความนิยมจนถึงในปัจจุบัน

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

Guido d'Arezzo นักบวชผู้พลิกตำนานทฤษฎีดนตรี




Guido d'Arezzo(991/992 – after 1033) นักบวชชาวอิตาเลียนแห่งเมืองArezzo ในช่วงยุคกลาง ในช่วงแรกเมื่อท่านเป็นนักบวชอยู่ที่สำนักสงฆ์ที่ปอมโปซา (Pomposa) ทางตอนเหนือของอิตาลี ท่านได้สังเกตถึงความยากที่นักร้องจะต้องจดจำเพลงสวดให้ได้ภายในเวลาอันสั้น จึงคิดค้นวิธีการจำโดยการใช้มือเรียกว่า “Guidonian Hand ซึ่งเป็นความคิดใหม่ที่ทำให้สามารถเรียนรู้ดนตรีได้ โดยการตั้งชื่อโน้ตให้สัมพันธ์กับส่วนต่างๆ บนมือของมนุษย์ รวมไปถึงการใช้Hexachord และเป็นครั้งแรกที่ทำให้รู้จักการใช้ Solfege แต่วิธีการนี้ได้ถูกต่อต้านจึงทำให้ท่านจำเป็นต้องย้ายไปอยู่ที่เมือง Arezzo

ที่เมือง Arezzo นั้น เขาได้พัฒนาวิธีการสอนใหม่ๆ เช่น คิดค้นระบบบันทึกโน้ตดนตรีแบบสัญลักษณ์บรรทัดเส้น (Staff notation) สมัยใหม่ ซึ่งใช้แทนระบบการบันทึกโน้ตแบบตัวอักษรกรีก (Neumatic notation) และ Solfeggio ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของบันไดเสียง โด-เร-มี ซึ่งแต่ละคำดึงมาจากพยางค์แรกของวลีเพลงทั้ง 6 ในบทกวีHymn, Ut queant laxis