มาร์ติน ลูเทอร์ (10 November 1483 – 18 February 1546) เกิดที่แซกซอน ประเทศเยอรมัน เป็นบุตรคนยากจน แต่มีโอกาสได้ร่ำเรียนได้รับการศึกษาสูงจนจบปริญญาเอก และได้ศึกษาเทวศาสตร์ และได้เป็นครูในมหาวิทยาลัย มีผู้รักใคร่ เชื่อถือ จำนวนมาก ต่อมาลูเทอร์ มีโอกาส เข้าสู่ชีวิตนักบวชและแสวงบุญที่กรุงโรม และตะลึง ที่เห็นว่า สังฆราชมีชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อ เลิศเลอ จนเกินเหตุ จึงเห็นว่าควรมีการเปลี่ยนแปลงทางศาสนา ต่อมาได้ตีความพระคัมภีร์ ไบเบิลและวิพากษ์วิจารณ์ปรัชญาศาสนาของยุคกลาง พระศาสนจักร ซึ่งในขณะนั้นมีการขายใบบุญกันมาก
การปฏิรูปศาสนา (The Reformation) ขบวนการที่เกิดในศตวรรษที่ 16 ค.ศ. 1517 เมื่อ มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) ตอกตะปูคำประท้วง 95 ข้อ (The 95 Theses) โดยใช้เครื่องพิมพ์เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ ประกาศไว้หน้าโบสถ์ในเมืองวิทเทนเบิร์ก (Witten burg) ลูเธอร์ได้รับการสนับสนุนจากอิเล็กเตอร์แห่งแซกโซนี อิเล็กเตอร์แห่งแซกโซนีให้ลูเธอร์เก็บตัวอยู่ในปราสาทวาร์ตบูร์ก (Wartburg Castle) เพื่อความปลอกภัยและที่นั่นเองลูเธอร์แปลคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาเยอรมันเป็นครั้งแรก จึงทำให้นิกายลูเธอร์ (นิกายแรกของโปรเตสแตนต์) จึงแผ่ขยายไปทั่วเยอรมนี เพราะบรรดาเจ้าครองแคว้นต่างต้องการพ้นจากอำนาจของจักรพรรดิจึงใช่ศาสนาเป็นเครื่องมือ ความคิดของมาร์ติน ลูเทอร์ จึงได้รับการสนับสนุนจากมหาชนเยอรมันเป็นจำนวนมาก แล้วแพร่หลาย ออกไปทั่วยุโรปการเคลื่อนไหวดังกล่าว ทำให้ พระสันตะปาปา และฝ่ายสังฆราช ไม่พอใจและประกาศบัพพาชนียกรรม (ขับไล่ - Excommunication) มาร์ติน ลูเทอร์ ในปี ค.ศ. 1521
ต่อมาทางฝ่ายสังฆราชบัญญัติกฎที่หาประโยชน์แต่กลุ่มของตนเอง เอาเปรียบหลอกเงินชาวบ้าน ลูเทอร์ จึงเรียกประชุมผู้รู้ทั้งหลาย มาหารือกันว่าจะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงอย่างไรดี เรื่องกระทบไปถึงวงการการเมือง เพราะพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 5 แห่งเยอรมนี เกรงว่าความแตกแยกทางศาสนา จะทำให้กลุ่มแตกแยก ทางการเมือง ที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว กระเทือนบัลลังก์ของพระองค์ จึงให้เปิดสภาไต่สวน เพื่อเอาผิด ลูเทอร์ ซึ่งปรากฏว่า สภาจับผิด อะไรไม่ได้ แต่ก็ลงเอยด้วยการประกาศให้ลูเทอร์ เป็นคนนอกศาสนาอยู่ดี สุดท้าย ลูเทอร์ แต่งหนังสือบรรยาย ความเห็น แสดงลัทธิใหม่ แปลคัมภีร์ไบเบิลออกมา เป็นถ้อยคำที่ชาวบ้านทั่วไป อ่านแล้วเข้าใจ จึงเป็นที่แพร่หลาย มาจนถึงปัจจุบัน นิกายโปรเตสแตนต์ จึงเกิดขึ้นมาจากความคิดเห็นที่แตกแยกกันในเรื่องความเชื่อและชีวิต คริสตชน โดยเรียกพวกที่ไม่ใช่คาทอลิก หรือออร์ทอดอกซ์ว่า "โปรเตสแตนต์" (Protestant) ซึ่งแปลว่า "ประท้วง", "ผู้คัดค้าน" และแยกตัวในปี ค.ศ. 1529 และใน ค.ศ. 1530 นิกายโปรเตสแตนต์ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ และมีการแยกออกเป็นนิกายย่อยตามผู้นำ ลักษณะดนตรีในนิกายนี้คือ Chorale ซึ่งมีรูปพรรณที่ง่ายกว่าเดิมเพื่อประชาชนจะได้ร้องได้และเข้าร่วมในพิธีกรรมได้ อีกทั้งยังทำให้คำสอนเข้าถึงคนธรรมดาสามัญได้ง่าย Chorale ที่ใช้มีอยู่สองชนิดคือ แต่งทำนองขึ้นมาใหม่ โดยส่วนใหญ่ Martin Luther จะเป็นผู้แต่งใหม่ แบบที่สองคือ Contrafacta เป็นการนำทำนอง Chant เดิมมาใช้หรือการนำทำนองที่ชาวบ้านคุ้นเคยอยู่แล้วมาใส่คำสวดภาษาเยอรมัน การปฏิรูปศาสนาสิ้นสุดลงด้วยสัญญาสันติภาพเวสด์ฟาเลีย ในปี ค.ศ. 1648