วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Who care if you listen? ฉบับแปลด้วยตนเอง เอาไว้อ่านเล่นๆ

Who care if you listen? By Evan Ziporyn

แปลตอนสอบอ.หง่าวค่ะ แปลผิดบอกกันด้วยนะคะ เพราะยังมีความรู้เรื่องดนตรีไม่มาก และแปลแบบข้ามๆอ่ะค่ะ

Evan Ziporyn (1959- ) ได้บอกว่าในปี1997 มีนักแต่งเพลงชื่อ Chris Maher ซึ่งเป็นพวก Marxist music เขามีความคิดว่าไม่มีองค์ประกอบของดนตรีใดๆที่สร้างเสียงด้วยตัวมันเองได้ อีกทั้ง Maher ยังได้ยืนยันว่าทางเดียวที่จะทำให้ดนตรีได้พัฒนาอย่างเป็นอิสระก็คือจะต้องทำลายแนวคิดของดนตรีที่เป็นแบบเดิมๆซะ ขอบเขตของดนตรีน่าจะอธิบายได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ในผลงานดนตรีหนึ่งชิ้นนั้นจะประสบความสำเร็จและมีคุณค่าได้นั้น ก็แล้วแต่ว่าผู้ฟังจะรู้สึกอย่างไรตอนที่ได้ฟังผลงานนั้นๆ แต่ที่สำคัญก็คือ แนวคิดที่ผู้แต่งได้จินตนาการไว้แล้วสร้างออกมา

เนื่องจากสมัยที่เรายังเด็กๆเราจะได้ศึกษาประวัติศาสตร์รวมถึงเทคนิคจากผู้ที่มีชื่อเสียงต่างในอดีตเช่น melodies, chord progressions, formal principles เป็นต้น แล้วนำเทคนิคดังกล่าวมาประพันธ์เพลงของตนเอง ซึ่ง Ziporyn เขาคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะน่าอายและน่ากลัวเป็นอย่างยิ่ง เพราะเราจะไม่สามารถพัฒนาดนตรีให้ก้าวหน้าและสร้างเสียงที่ใหม่ๆ รวมถึงการปรับปรุงแนวคิดโครงสร้างแบบใหม่ๆได้ ซึ่งการที่จะสร้างสิ่งใหม่นั้นมันยากมาก ต้องอาศัยทั้งเวลา ความสามารถพิเศษของผู้แต่งเอง ความมุ่งมั่น ความขยัน ซึ่งถ้าผู้แต่งทำได้ การที่ได้เสียสละทำสิ่งเหล่านั้นก็จะเกิดผลให้ได้รับการยกย่อง ยอมรับ ความรุ่งเรืองและความสำเร็จก็จะตามมา ที่ตลกมากๆคือเขาบอกว่า เสียงใหม่ๆที่เรากำลังตามหากันอยู่นั้นมันจะหายากซึ่งในบางทีการให้เวลาและความขยันไม่พอหรอก จะต้องอาศัยโชคช่วยด้วย รวมถึงชื่อเสียงของผู้แต่ง

ในปัจจุบันดนตรีทุกๆแบบสามารถเข้าถึงผู้ฟังทุกๆคนได้ในทุกเวลา ในตะวันตกเขาได้ยกเพลงที่ชื่อว่า Telemusik ของ Stockhausen ซึ่งเป็นเพลงที่ใช้ meterial จากเพลงพื้นบ้าน 12 แห่ง ซึ่งมีนักประพันธ์ได้ยืนยันว่าเพลงนี้ไม่ใช่ของใครแต่ เพลงของคนทั้งโลกทุกประเทศต่างหาก และเปรียบว่าเหมือนกับพวกนักล่าอณานิคมที่ล่าเขตแดนมาเป็นของตัวเอง ซึ่งในตะวันได้เรียกการที่นำเอาทุกconcept มารวมกันว่า “Otherness” จากนั้นก็ยังมีดนตรีแบบนี้อยู่ใน top-40 radio หรือ เพลง swing รวมถึงแนวคิดที่ตรงข้ามที่เรียกว่า “out there” เช่น การที่ Boulez ได้ประกาศว่านักแต่งเพลงที่ไม่ใช่ Serialist เป็นนักแต่งเพลงที่ไม่มีประโยชน์

แต่ปัจจุบันการแต่งแบบ Otherness ได้ถูกใช้น้อยลงเพราะได้กลายมาเป็นเพลงตลาดซึ่งบริษัทต่างๆเห็นว่าไพเราะดี ก่อนหน้านี้ขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นใครและคุณเข้าใจตรงไหนเพราะOtherนั้นเป็นได้ทุกสิ่งที่คุณคิด แต่ปัจจุบันทุกๆอย่างได้รวมมาเป็นแบบที่เรียกว่า New Age” ซึ่งได้ใช้ระบบ digital อย่าง syn. เข้ามาเกี่ยวข้องกับการสร้างเสียงและบันทึกเสียง แต่ก็ได้มีนักวิจารณ์ได้กล่าวว่าเขาสนใจที่ “authentic performance” (performance ที่แท้จริง) มากกว่าและคิดว่าการใช้ระบบdigitalนั้นเป็นสิ่งสุดท้ายที่คิดจะทำ ผู้คนส่วนใหญ่มักจะคิดถึงเรื่องดนตรีมาจากไหน เขียนเมื่อไหร่ ใครเขียนหรือเล่นยังไง ซึ่งมักเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยดี Otherness ในตอนนี้นั้นไม่มีอะไรมากกว่าเรื่องของคุณภาพเสียงที่ออกมาและการเอาเสียงนั้นมาใช้

เมื่อนำกลับมาคิดแล้วกฏหมายในเรื่องของลิขสิทธ์ก็ไม่ได้มีผลต่อการสร้างงานเท่าไหร่เพราะองค์ประกอบของดนตรีของนักประพันธ์ท่านต่างๆในอดีตก็ยังถูกนำเอามาใช้ทั้งจังหวะ เสียง และPitch phaseซึ่งจริงๆแล้วมันเป็นสิ่งที่เลวร้ายมากๆ หรือบางทีก็อาจจะเป็นเพราะการนำมาทำเพราะความสนุกหรือไม่ก็เพราะผลประโยชน์ส่วนตัวที่จะได้รับ และอิทธิพลต่างๆเช่นการเมือง หรือว่าเฮ้ยจังหวะมันดีนะเฮ้ยคำนี้มันโดนใจอะไรแบบนี้ สิ่งดึงดูดเหล่านั้นเหมือนว่าจะเป็นทัศนคติหรือจินตนาการ แต่ความรู้สึกนั้นมันเกิดขึ้นได้อย่างไร มันมีพลังมากหรอ? แม้ว่าแรงดึงดูดเหล่านั้นทำให้เราต้องการเลียนแบบมันแต่ยังไงก็ตามเราก็ควรหยุดคิดหรือกระทำสิ่งเหล่านั้น และหาหนทางหรือข้อห้ามที่จำหยุดมัน

ในสถานการณ์นี้เมื่อสิบห้าปีที่ผ่านมาเราขาดแคลนnon western music ซึ่งดูเหมือนว่ามันไม่มี เหตุผล เพราะการที่ทางตะวันตกมีประสิทธิภาพที่สร้างงานและแกล้งว่าสอนดนตรีได้ถ้าพูดรวมๆก็คือความสำเร็จทางด้านดนตรีจะมีแค่ในEUเท่านั้น มันดูมีเหตุผลสำคัญที่จะให้เหตุผลสำหรับการเปิดความคิด ยอมรับวัฒนธรรมที่สำคัญอื่นๆ และการพูดเกี่ยวกับเรื่องการผสมกันของดนตรี

โชคร้ายจริงๆที่ในปัจจุบันได้มีนักวิจารณ์เขียนแบบเขี่ยๆที่จะอธิบายการจูงใจที่สื่อออกมาของจังหวะกลองในเพลงhiphop Greg Sandow นักแต่งเพลงและนักวิจารณ์ ครั้งหนึ่งเขาได้กระตือรือร้น ที่จะปกป้องนักต่อสู้อุดมการณ์สองคนที่มีความคิดที่ไร้สาระมากของประวัติศาสตร์ที่เขียนเรื่อง New music ซึ่งคนเหล่านั้นไม่ได้ความรู้เกี่ยวกับดนตรีอย่างแท้จริงเรยเลยแล้วยังจะมาเขียนเรื่องดนตรี

มันเป็นความจริงที่ปัจจุบันยังมีคนทั่วโลกที่ยังใช้ Traditional music ไม่ใช่แต่เพลงpop แต่เพลงclassic และ computer music ก็ใช้ Evanยืนยันว่ายังมีประเภทของดนตรีมากมายที่หายไปและรอการกำหนดความหมาย ฉันกำลังพูดถึงมาตรฐานเฉลี่ยของผู้ฟังในปัจจุบันอาจจะรวมถึง Monroe Brother,…etc. การฟังของพวกเรายังไม่เป็นสากลยังไม่มีจุดหมาย และยังมองไม่เห็นความงามของดนตรีที่แท้จริง

แต่มันก็ยากสำหรับพวกเรามากกับการที่จะรู้ถึงการสร้างงานรวมถึงหลักการปฏิบัติ ถ้าเราเป็นนักแต่งเพลงคงจะรู้ว่าเขียนเพลงเพื่ออะไร หรือถ้าเราเป็นอาจารย์ก็อาจจะรู้เทคนิคละความงามทางดนตรีได้ดี หรือไม่ก็พวกเราอาจจะไม่มีความตั้งใจและเงินมากพอที่จะผลักดันเรา สำหรับMoore เขาพูดว่าคุณสามารถทำที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ที่คุณต้องการเพราะไม่มีใครที่careในทุกๆเรื่อง งั้นเราจะทำยังไงต่อหล่ะ ?

คำตอบก็คือฉันเชื่อว่าเราสามารถฝึกโดยวิธีการเปรียบเทียบกันระหว่างดนตรีและภาษาได้ ดนตรีก็เหมือนกับภาษาที่คนเราใช้สื่อสารกับคนอื่นๆที่เราสามารถพูดหรื่อแสดงท่าทางเพื่อสื่อให้คนอื่นเข้าใจความรู้สึกของเรา โดยเฉพาะถ้าเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมเช่นเราสามารถรู้ข้อแตกต่างระหว่าง Balinese music กับทุกๆอย่างในโลกได้ ดนตรีก็คือหลักการที่สามารถแยกแยะวัฒนธรรมของแต่ละที่ได้ แต่โชคร้ายที่ยังมีดนตรีที่ไม่มีใครในโลกเข้าใจมันได้ไม่ว่าเขาจะตั้งใจฟังเท่าไหร่ก็ตาม


อีกทางแก้นึงก็คือการมองดนตรีให้เป็น ระบบของเสียง การจัดเรียงของเสียงสามารถเป็นดนตรีได้โดยใครก็ได้ ด้วยการเรียงลำดับหน่วยพื้นฐานของเสียงที่สามารถเข้าใจได้ง่าย musical phoneme สามารถจำกัดความได้จากการมองเห็นความแตกต่างของหน่วยของเสียง หรือไม่ก็มีความหมายเหมือนพยางค์ในภาษาพูด เขียนและท่าทาง ระบบของเสียงอาจจะมีความหมายดีกว่าเรียกว่าเสียงเฉยๆ นั้นก็หมายความว่าเมื่อเราฟัง ทุกสิ่งที่เราได้ยินและไม่ได้ยิน การรวมกันของเสียงและความเงียบ โอ้แม่เจ้า!!!!! เสียงต่างๆเหล่านี้ทำอะไรกับดนตรีเนี่ย(what does sound have to do with music)

ถ้าดนตรีคือเสียงและเสียงเท่านั้น ดังนั้นมันก็ไม่ได้เข้าใจยากกว่าอย่างอื่นหน่ะสิ ถ้าในทางกลับกัน ดนตรีประกอบด้วยภาษาที่แยกกันเป็นส่วนต่างๆมากมายมหาศาล และคนท้องถิ่นสามารถเผชิญหน้าท่ามกลาง “The other” ได้หลายทางคือ 1.อย่าใสใจและยึดไว้ซึ่งภาษาแม่ของตนเอง 2.ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เรามีและรวบรวมไว้ด้วยตนเอง 3.ศึกษาภาษาของที่อื่นๆให้เชี่ยวเหมือนภาษาของตนเอง 4.พิจารณาสิ่งที่มีอยู่และนำมาใช้ผสมกันอย่างมีสติ ซึ่งส่วนนี้ยากที่สุดเพราะส่วนนี้แหละที่จะแสดงตัวตนของเรา อีกทั้งยังต้องคิดถึงผู้ฟังที่ต่างกันด้วย

การสร้างสรรค์ภาษาเช่นการผสมกันที่กล่าวมาสามารถอธิบายได้ แต่มันก็เป็นเพียงความเป็นไปได้ของ “Phonemic transference” ที่ทำให้ทุกๆความสัมพันธ์แตกต่างกันและนำมาเปรียบกับดนตรี แต่โปรดเข้าใจฉัน มันไม่สามารถอธิบายได้ถึงทั้งหมดของดนตรีที่จัดระบบเสียงและการสร้างความสัมพันธ์ แต่ตรงกันข้ามประสบการณ์ของการเข้าใจผิดที่เป็นประโยชน์ และความสำคัญของการที่ได้ยินเสียงที่ไม่ใช่ของแท้(น่าจะเป็นเสียงdigitalที่ใช้syn.อ่า) สิ่งเหล่านั้นเองเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เราพิจารณาความหมายของดนตรี เท่าที่เราได้ยินเสียงดนตรีจากวัฒนธรรมต่างๆ “the wrong way” ดังนั้นทำให้เราเข้าใจอย่างไร้จุดหมายว่า การจัดการดนตรีเปรียบได้กับวัฒนธรรมของภาษาเท่านั้น ถึงแม้ว่าการที่ไม่เปลี่ยนแปลงของภาษาและดนตรีที่ต่างกันนี้ดูเหมือนเราจะรู้ว่า เราสามารถสร้าง sense ของดนตรีได้โดยที่มีต้องคิดมากเรื่องระบบและเสียง ไม่จำเป็นต้องให้ความหมายกับสิ่งที่สร้างขึ้นและปัญหาของเราก็ไม่ได้ทำอะไรกับดนตรี เพียงแต่เราจำเป็นที่จะต้องพูดถึงมันเพื่ออธิบายเรื่องดนตรี

จินตนาการตอนเด็กที่หายไป การรวมกันของงานที่ source อยู่ในที่ลึกลับ และการยึดถึงคุณธรรม สิ่งที่ถูกละเลยเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญในปรัญชาของเพลโต ที่เกี่ยวกับจิตใจและความรักที่บริสุทธิ์ เราควรจะขุดลึกเข้าไปในจิตใจของเราเอง เจาะลงไปถึงภายใต้ประสบการณ์และความคิดเล็กๆน้อยๆของเรา ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เราได้ดนตรีที่ดี ต่างกับภาษาที่สร้างขึ้นโดยที่ไม่ได้คำนึงเกี่ยวกับเรื่องจิตใจและความรู้สึกมากนัก

หยุดการตามหาความหมายเสียที ฉันไม่ได้แนะนำให้หยุดพูดถึงดนตรีนะ แต่ให้หยุดตามหาดนตรีซะที กำจัดแนวคิดที่เกี่ยวกับคุณค่าของดนตรี พูดกันแต่เรื่องไร้สาระไม่หยุดหย่อน ให้ดนตรีได้พูดด้วยตัวของมันเอง ถ้ามองในแง่นี้สิ่งที่ Maher กำลังตามหาเพื่อจะจัดสรรค์อยู่นั้น ไม่ใช่คุณสมบัติของดนตรี แต่เป็นความสามารถในการเชื่อมต่อของดนตรี ครั้งหนึ่งเราหยุดความเชื่อที่ว่า คำจำกัดความและการวิเคราะห์ได้ถูกยกระดับ การแสดงดนตรีจากสิ่งที่มีอยู่ภายใน และบทความเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของดนตรี จะกลายมาเป็นสิ่งที่ไม่ได้ตรงประเด็นและอ่อนแอ

เราควรจะต้องฟังเสียงข้างในใจของเราเท่านั้นไม่ว่าเสียงนั้นจะมาจากไหน เพื่อยืนยันว่า แนวคิดของเพลโตที่ไม่เป็นต้องมีรู้ชื่อ, ภาษา และประเภท เราควรจะหลุดพ้นจากความคิดที่ว่าดนตรีคืออะไรและไม่ใช่อะไร เราควรจะหยุดความพยายามที่จะอธิบายเรื่องดนตรี หยุดสนใจ หรือไม่ก็ มันเป็น sign system, การ random ของเสียง หรือสัญลักษณ์ต่างๆที่เป็นมากกว่าดนตรี

เราจะต้อง......และเราก็จะต้อง......โอ้ว หุบปากซะ แล้วฟังอย่างเดียว รู้ไหม?

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

อ้างอิง

เดี๋ยวจะหาชื่อหนังสือมาค่ะ ซักพักค่ะ(ถามคุณนันท์ก่อน)

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Gallican Chant

Gallican chantป็นเพลงที่ประกอบขึ้นจากเพลงสวดซึ่งมีท่วงทำนองเดียว (Monophonic liturgical music) เพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาในโบสถ์ของศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกในแคว้นกอล (Gaul) ชื่อแคว้นในเขตพื้นที่ของอาณาจักรโรมันโบราณในยุโรปตะวันตก ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศฝรั่งเศสและตอนเหนือของประเทศอิตาลี ถือเป็นการประพันธ์แบบเก่าก่อนการกำหนดให้มี Roman chant โดย Carolingian kings Pippin (751–68) และ Charlemagne (768–814)

เนื่องจากหลักฐานของ Gallican chant นั้นไม่มีหนังสือที่บันทึกปรากฏไว้ จึงต้องศึกษาจากหนังสือบทสวดของ Gallican ซึ่งจะใช้สำหรับพระผู้สวดและผู้เข้าร่วมพีธี หรือหนังสือที่รวบรวมส่วนต่างๆที่ตัดออกจากพระคัมภีร์เพื่ออ่านในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธ์ ที่ใช้มากในช่วงศตวรรษที่ 79 ซึ่งน่าจะมีการใช้มาก่อนหน้านั้น

ลักษณะของ Gallican chant

อธิบายโดยแยกเป็นบทสวดและทำนองที่ใช้สวด ดังนี้

รูปแบบและคำที่ใช้ในบทสวดในโบสถ์ของชาวกอลอยู่ในรูปแบบโรมันคาทอลิกที่ต้องสวดอย่างเข้มงวด มีแบบแผนที่ชัดเจน ใช้รูปแบบภาษาที่สละสลวย และสวดคำที่สำคัญแบบซ้ำไปซ้ำมา เช่น มักใช้คำว่า ‘In diebus illis’ หรือ ‘Diebus illis’ เพื่อเริ่มบทสวด และใช้คำว่า ‘Dominus Jesus’ ในบทสวด เนื้อหาของบทสวดทั้งหมดจะกล่าวเพื่อสรรเสริญ พระบิดา พระบุตร และพระจิต

ในส่วนของทำนองมีลักษณะเฉพาะคือ ใช้ทำนองที่คุ้นเคยจำง่าย มีการซ้ำทำนอง มีการเอื้อน(คำ1พยางค์จะร้องหลายโน้ต) โดยจะใช้สัญลักษณ์แทนกลุ่มตัวโน้ตในการบันทึกโน้ตที่ใช้ในยุคกลาง เรียกว่า neumes ในการบันทึก การแต่งทำนองนั้นไม่มีความซับซ้อนมากนัก มีการใช้บทนำ มีcadence มีการยืมทำนองที่มีอยู่แล้วในเพลงอื่นมาใช้เรียงร้อยเข้าด้วยกัน (centonization) และการร้องเนื้อเพลงล้อสลับกัน ระหว่างนักร้อง 2 กลุ่ม โดยใช้เนื้อร้องต่างกัน ดังตัวอย่าง

-------------------------------------------------------------------------------------------------

หนังสืออ้างอิง

The New Grove Dictionary of Music and Musicians - 3 ed.

Huglo, Michel: Gallican Chant, Grove Music Online ed. L. Macy (Accessed 7 May 2006)

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

This is it

ไมเคิล เจ๋งอ่ะ King of pop จริงๆ คนไทยดูไว้อย่าถือตัวกันมากนัก เคารพในเรื่องความคิดกันบ้าง ถึงเป็นผู้ใหญ่ก็ควรจะเอากลับไปคิดนะ