Gallican chant เป็นเพลงที่ประกอบขึ้นจากเพลงสวดซึ่งมีท่วงทำนองเดียว (Monophonic liturgical music) เพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาในโบสถ์ของศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกในแคว้นกอล (Gaul) ชื่อแคว้นในเขตพื้นที่ของอาณาจักรโรมันโบราณในยุโรปตะวันตก ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศฝรั่งเศสและตอนเหนือของประเทศอิตาลี ถือเป็นการประพันธ์แบบเก่าก่อนการกำหนดให้มี Roman chant โดย Carolingian kings Pippin (751–68) และ Charlemagne (768–814)
เนื่องจากหลักฐานของ Gallican chant นั้นไม่มีหนังสือที่บันทึกปรากฏไว้ จึงต้องศึกษาจากหนังสือบทสวดของ Gallican ซึ่งจะใช้สำหรับพระผู้สวดและผู้เข้าร่วมพีธี หรือหนังสือที่รวบรวมส่วนต่างๆที่ตัดออกจากพระคัมภีร์เพื่ออ่านในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธ์ ที่ใช้มากในช่วงศตวรรษที่ 7 – 9 ซึ่งน่าจะมีการใช้มาก่อนหน้านั้น
ลักษณะของ Gallican chant
อธิบายโดยแยกเป็นบทสวดและทำนองที่ใช้สวด ดังนี้
รูปแบบและคำที่ใช้ในบทสวดในโบสถ์ของชาวกอลอยู่ในรูปแบบโรมันคาทอลิกที่ต้องสวดอย่างเข้มงวด มีแบบแผนที่ชัดเจน ใช้รูปแบบภาษาที่สละสลวย และสวดคำที่สำคัญแบบซ้ำไปซ้ำมา เช่น มักใช้คำว่า ‘In diebus illis’ หรือ ‘Diebus illis’ เพื่อเริ่มบทสวด และใช้คำว่า ‘Dominus Jesus’ ในบทสวด เนื้อหาของบทสวดทั้งหมดจะกล่าวเพื่อสรรเสริญ พระบิดา พระบุตร และพระจิต
ในส่วนของทำนองมีลักษณะเฉพาะคือ ใช้ทำนองที่คุ้นเคยจำง่าย มีการซ้ำทำนอง มีการเอื้อน(คำ1พยางค์จะร้องหลายโน้ต) โดยจะใช้สัญลักษณ์แทนกลุ่มตัวโน้ตในการบันทึกโน้ตที่ใช้ในยุคกลาง เรียกว่า neumes ในการบันทึก การแต่งทำนองนั้นไม่มีความซับซ้อนมากนัก มีการใช้บทนำ มีcadence มีการยืมทำนองที่มีอยู่แล้วในเพลงอื่นมาใช้เรียงร้อยเข้าด้วยกัน (centonization) และการร้องเนื้อเพลงล้อสลับกัน ระหว่างนักร้อง 2 กลุ่ม โดยใช้เนื้อร้องต่างกัน ดังตัวอย่าง
-------------------------------------------------------------------------------------------------
หนังสืออ้างอิง
The New Grove Dictionary of Music and Musicians - 3 ed.
Huglo, Michel: Gallican Chant, Grove Music Online ed. L. Macy (Accessed 7 May 2006)
มาอ่านแล้ว เก็บเอาไว้จะให้คะแนนอีกทีตอนคิดเกรด อ. หง่าว
ตอบลบ